กลยุทธ์การผลักดันองค์กรของคุณสู่มาตรฐานที่เหนือคู่แข่งด้วย : Business Intelligence Competency Centre (BICC) บทความโดย บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด
ในขณะที่แนวโน้มของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่างๆ ทั่วเอเชียแปซิฟิกต่างพยายามทําความเข้าใจและหาวิธีการพัฒนาเพื่อสร้างความหยั่งถึงทางธุรกิจ หรือที่เรียกว่าระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence – BI) ให้กับองค์กรของตนในปัจจุบัน ผลสำรวจต่างๆ มากมายได้แสดงให้เห็นว่าความต้องการดังกล่าวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานหลายปีแล้ว ด้วยเหตุผลหลักๆก็คือองค์กรหลายแห่งยังคงประสบปัญหาในการบริหารจัดการทรัพยากรข้อมูลที่มีอยู่รวมถึงการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลักดันการตัดสินใจทางธุรกิจ
จากผลการสำรวจของ BetterManagement.com (เว็บไซต์ที่ทำการวิจัยหาแนวทางพัฒนาการจัดการและตัดสินใจด้านธุรกิจแก่องค์กรทั่วโลก) แสดงให้เห็นว่ากว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารระบุว่าพวกเขาไม่เคยหรือแทบจะไม่ได้รับข้อมูล ซึ่งจะเป็นประโยชน์และช่วยเสริมประสิทธิภาพของการตัดสินใจทางธุรกิจเลย หรือในบางครั้งได้รับข้อมูล แต่ก็ไม่ใช่ข้อมูลที่สามารถสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเพื่อสร้างกลยุทธ์แก่พวกเขาได้
สาเหตุดังกล่าว เริ่มขึ้นจากการขาดความเข้าใจในการสร้างและกระจายความหยั่งถึงทางธุรกิจไปในระดับองค์กร และมีการใช้งานในระบบดังกล่าวอย่างไม่ต่อเนื่องจึงก่อให้เกิดการทับถมของข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้องค์กรมากมายยังประสบปัญหาในบริหารจัดการและสร้างมาตรฐานระบบธุรกิจอัจฉริยะในระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะให้สามารถกระจายใช้ประโยชน์ได้ในหลายๆแผนกตามความต้องการ
มีองค์กรเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่กำลังทำสิ่งที่จำเป็นในการจัดระเบียบข้อมูลต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดเป็นข้อมูลที่พวกเขาต้องการจริงๆต่อไป
จุดนี้เองคือปัญหาที่เรียกว่าการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรที่หลายๆแห่งประสบ เมื่อต้องปฏิบัติเสมือนว่าข้อมูลเป็นทรัพย์สินระยะยาวของบริษัทเพื่อสร้างกลยุทธ์ และสร้างความแตกต่างทางธุรกิจเหนือองค์กรอื่นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนจากเดิมที่องค์กรสามารถตัดสินใจบนพื้นฐานของความรู้สึกหรือความเข้าใจที่มีต่อตลาดได้อย่างเดียว
สร้างความแตกต่างทางธุรกิจด้วย BICC (Business Intelligence Competency Center)
ในฐานะผู้บริหารระดับสูงในปัจจุบัน คุณจำเป็นต้องวางแผนการตัดสินใจระยะยาวซึ่งจะส่งผลลัพธ์เชิงบวกแก่ธุรกิจ และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านั้นก็คือ ต้องเข้าใจกระบวนการความหยั่งถึงทางธุรกิจทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งจะสนับสนุนประสิทธิภาพในการตัดสินใจโดยผ่านข้อมูลอ้างอิงที่ถูกต้อง
ในความเป็นจริงแล้ว องค์กรจะสามารถสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่งได้นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือ ‘คุณภาพของการกระจายการหยั่งถึงข้อมูลทางธุรกิจไปยังองค์กร” และ “คุณภาพของบุคคลากรในองค์กรที่จะสามารถใช้ เรียกดู และวิเคราะห์ข้อมูลหยั่งรู้นี้ให้กลายเป็นอาวุธชั้นดีในชี้นําธุรกิจขององค์กรได้
ในความหมายที่แท้จริงของ Business Intelligence หรือความหยั่งรู้ทางธุรกิจนั้น หมายถึง การได้ข้อมูลสําคัญทางธุรกิจที่ถูกต้อง และส่งมอบให้แก่บุคคลากรที่เป็นเป้าหมายเพื่อการวิเคราะห์ได้ และต้องอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม ทันสถานการณ์เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้พวกเขาสามารถสร้างผลลัพธ์ที่เหนือคู่แข่งจากการตัดสินใจที่ถูกต้อง แม่นยํายิ่งขึ้น
การที่องค์กรจะได้มุมมองโดยกว้างของภาพรวมทางธุรกิจนั้นจะต้องได้รับข้อมูล ที่สําคัญ 4 ด้านคือลูกค้า การเงิน การปฏิบัติการ และความเสี่ยงในธุรกิจ เมื่อได้ข้อมูลธุรกิจที่สําคัญทั้ง 4 ด้านดังกล่าวองค์กรก็ต้องการหน่วยงานที่มาเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาและขับเคลื่อนความหยั่งรู้ทางธุรกิจให้ไหลไปในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล BICC จึงเข้ามามีบทบาทสําคัญในองค์กร
ซึ่งองค์กรทั้งหลายต่างตระหนักดีว่า การยกระดับความหยั่งรู้ทางธุรกิจได้กลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญมากกว่าการใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว เฉกเช่นเดียวกับความหมายของคำว่า Business Intelligence (BI) BICC นั้นก็มีมุมมองที่เป็นมิติลึกไปกว่านั้น ซึ่งในแง่กลยุทธ์นั้น BICC จะเน้นเพิ่มไปที่ บุคคลากร กระบวนการ ระบบโครงสร้าง และวัฒนธรรมองค์กร
การประเมินและการริเริ่ม BICC
ในลำดับแรกของการเริ่มต้นก่อตั้ง BICC นั้น คุณจำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่าอะไรคือ Intelligence หรือข้อมูลธุรกิจสําคัญที่คุณต้องการ และการระบุว่าการตัดสินใจทางธุรกิจดังกล่าวจะต้องถูกกระทำใน รายวัน รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี ในระดับการตัดสินใจของพนักงานในองค์กรที่มีลำดับตำแหน่งบริหารที่แตกต่างกันออกไป หลังจากนั้นคุณจะต้องมองว่าจะสามารถส่งมอบ Intelligence ที่ต้องการได้อย่างไรซึ่งแต่ละองค์กรก็ล้วนมีวิธีการที่จะทำให้เกิด Intelligence ที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังมีปัจจัยเฉพาะต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการสร้าง Intelligence ไม่ว่าจะเป็น ขนาดและโครงสร้างขององค์กร รูปแบบของข้อมูล ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญที่สุดและจะต้องคำนึงถึงเสมอก็คือ ความเข้าใจระดับวุฒิภาวะขององค์กรในด้านขีดความสามารถของการสร้างและส่งมอบ Intelligence และในจุดนี้เองโมเดลที่มีชื่อว่า Information Evolution Model (IEM) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยบริษัท แซส ซอฟท์แวร์ จำกัด จึงกลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสร้างแนวทางเพื่อประเมินระดับความพร้อมขององค์กรรวมไปถึงการวางแผนกลยุทธ์เพื่อช่วยให้องค์กรของคุณสามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยระบบ SAS – IEM เป็นการรวบรวมปัจจัยต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไปถึง 5 ระดับซึ่งจะถูกสร้างซ้อนกันขึ้นไป ได้แก่
ขั้นปฏิบัติการ (Operate) – เพ่งไปที่ตัวบุคคล ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับบุคคลแต่ละราย
การรวบรวม (Consolidate) – ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในระดับส่วนงาน
การผสมผสาน (Integrate) – มาตรฐานในระดับองค์กรจะถูกนำมาใช้แทนที่
การใช้ให้เหมาะสม (Optimize) – ข้อมูลจะต้องถูกเตรียมพร้อมสำหรับการวัด จัดวางให้เหมาะสม และ ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
การสร้างนวัตกรรม (Innovation)– การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องและการปรับปรุงสิ่งใหม่เพื่อแทนที่สิ่งเดิม
Source: Business Intelligence, BI software information at sas.com
31 December 2008
กลยุทธ์การผลักดันองค์กรของคุณสู่มาตรฐานที่เหนือคู่แข่งด้วย
Posted by Trirat 0 comments
Labels: Business Intelligence Articles, SAS
Business Intelligence คืออะไร
BI : Business Intelligence คืออะไร
ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา เช่นเดียวกัน ระบบธุรกิจก็มีการแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรง และมากขึ้นด้วย จึงเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เลยว่าการที่องค์กรจะอยู่รอดได้นั้นจะต้องมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยและทันท่วงที เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและสามารถนำไปวางแผน หรือ โต้ตอบปัญหา เชิงธุรกิจได้ทันต่อเหตุการณ์ ให้กับผู้บริหารระดับสูงขององค์กร
การที่จะได้มาซึ่งข้อมูล สารสนเทศเหล่านั้น หนึ่งจำเป็นต้องมีการแสวงหาหนทาง ในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้มาก เพราะว่าข้อมูลเหล่านั้นมิใช่ข้อมูล ภายในองค์กรเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลขององค์กร ที่เป็นคู่แข่งหรือเป็นข้อมูลของ องค์กรอื่นๆ ที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันกับเราก็เป็นไปได้ สองการเลือกสรรข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณค่าจากกองข้อมูลที่มีขนาดมหึมา เพื่อให้แน่ใจว่าระบบข้อมูลสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมานั้นเป็นข้อมูลสารสนเทศที่ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรได้ เพื่อเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีระบบที่สามารถช่วยเตรียมข้อมูลที่ลึกซึ้ง และมีคุณค่าทางกิจกรรมทางธุรกิจให้แก่องค์กรได้
ปัจจุบันการวางแผนทางกลยุทธ์ของบริษัทนั้นจำเป็นต้องใช้ข้อมูลมากมาย ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูล ทางด้านการตลาด การขาย การเงิน การผลิตนั้นจะต้องทันกับเหตุการณ์ซึ่งมีข้อมูลเกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน ดังนั้นการจัดทำรายงาน จะต้องมีการแก้ไขบ่อย และมีความยุ่งยาก
Business Intelligence คือ ซอฟต์แวร์ (Software) ที่นำข้อมูลที่มีอยู่เพื่อจัดทำรายงานในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับมุมมองในการวิเคราะห์ และตรงตามความต้องการ
ของผู้ใช้งาน และใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ของงานในมุมมองต่างๆ ตามแต่ละแผนก เช่น
วิเคราะห์การดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อการตัดสินใจด้านการลงทุนสำหรับผู้บริหาร
วิเคราะห์และวางแผนการขาย / การตลาด เพื่อประเมินช่องทางการจำหน่าย ฯลฯ
วิเคราะห์สินค้าที่ทำกำไร สูงสุด / ขาดทุนต่ำสุด เพื่อการวางแผนงานด้านการตลาด และการผลิต
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อยอดขายของสินค้า ฯลฯ
วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ฯลฯ
Business Intelligence จะประกอบไปด้วยระบบข้อมูล และโปรแกรมแอพพลิเคชั่น ด้านการวิเคราะห์ มากมายหลายระบบ เช่น
ดาต้าแวร์เฮ้าส์ (Data Warehouse)
ดาต้ามาร์ท (Data Mart)
การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Operations Research & Numerical Methods)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมิติ (OLAP) แบบประมวลผลทันทีที่ป้อนข้อมูลเข้าไป
และ ระบบสืบค้นและออกรายงานต่างๆ (Search, Report)
Business Intelligence ยังมีจุดเด่นเพิ่มขึ้นอีกในด้าน
ใช้งานง่ายเพียงแค่คลิกเมาส์ก็สามารถเปลี่ยนแปลงรายงานได้โดยไม่ต้องมีการคีย์ข้อมูลใหม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถถาม ตอบคำถามทางธุรกิจได้หลายมุมมองเพียงในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งช่วยการตัดสินใจแม่นยำ และรวดเร็วกว่าคู่แข่ง ทั้งในเชิงกว้าง และเชิงลึก
สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่หลากหลายภายในองค์กรมาทำการวิเคราะห์ เช่น Excel, FoxPro, Dbase, Access, ORACLE, SQL Server, Informix, Progress, DB2 เป็นต้น โดยไม่มีการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมใดๆ
สรุป
การบูรณาการข้อมูล (integration of data) ระหว่างข้อมูลประวัติกับข้อมูลใหม่ ณ ปัจจุบัน นับเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของระบบ Business Intelligence (BI) ขั้นสูง เนื่องจากมีธุรกิจจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ นำผลลัพธ์จากระบบดังกล่าวไปใช้ประกอบการตัดสินใจกำหนดทิศทางธุรกิจและการตลาด ทั้งนี้ ธุรกิจที่เริ่มใช้แนวคิดนี้แล้วในปัจจุบันจะเป็นองค์กรที่ได้ประโยชน์สูงสุดก่อนใคร ก่อนที่มันจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในอนาคตอันใกล้นี้
Source: Business Intelligence, BI Software information at mfatix.com
Posted by Trirat 0 comments
Labels: Business Intelligence Articles